Home » ประวัติ เยอรมนี เพราะเหตุใดต้องใส่ชุดสีขาวทั้งที่ธงชาติมีสี แดง/ดำ/เหลือง

ประวัติ เยอรมนี เพราะเหตุใดต้องใส่ชุดสีขาวทั้งที่ธงชาติมีสี แดง/ดำ/เหลือง

เยอรมนี

ประวัติ เยอรมนี มียาวนานในการสวมชุดแข่งขันสีขาวเป็นหลัก แม้ว่าสีนี้จะไม่ปรากฏบนธงชาติของพวกเขา

ในหลายๆ ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ฟุตบอลของประเทศ เยอรมนี มีสิ่งที่เหมือนกันคือ สีขาว

ไม่ว่าจะเป็นตอน เจอร์เก้น คลินส์มันน์ ยกถ้วยยูโร 96 ต่อหน้าพระราชินี อลิซาเบธ ที่ สนามเวมบลีย์, ปาฏิหาริย์แห่ง เบิร์น ในฟุตบอลโลกปี 1954, การชนะในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 1974 ที่มีชัยชนะเหนือทีม ดัตช์ ที่เป็นแมตช์หยุดโลกดีที่สุดตลอดกาล และหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน อาจจะรวมถึงการคว้าแชมป์ยูโร 2024 ในบ้านเกิดด้วย

ทุกเหตุการณ์เป็นช่วงเวลาจะมีคุณค่าในตัวเอง และแต่ละช่วงเวลาเหล่านั้นถูกเฉลิมฉลองในชุดสีขาวซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของฟุตบอลเยอรมัน แม้ว่าสีขาวจะไม่ปรากฏบนธงชาติ ที่มีสี แดง ดำ และเหลือง แต่แรงบันดาลใจเบื้องหลังสีชุดของเยอรมนีนั้นมีมาก่อน ‘บุนเดสแฟล็ก’ เกือบพันปี

ย้อนกลับไปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1100 กลุ่มทหารศาสนาที่เรียกว่า อัศวินทิว โทนิก ได้ก่อตั้งขึ้นในเยรูซาเล็มเพื่อช่วยเหลือชาวคริสต์ ในการเดินทางไปยัง ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มนี้ย้ายไปยังภูมิภาค บอลติก เมื่อศาสนาคริสต์ถูกขับไล่ออกไป อัศวินทิวโทนิก ได้ใช้ธงสีขาวที่มีรูปไม้กางเขนสีดำ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรูปนกอินทรีสีดำ

อย่างไรก็ตาม ประวัติ เยอรมนี เมื่อมีการจัดตั้ง ทีมชาติเยอรมนี ขึ้นในปี 1899 พวกเขาเลือกใช้สีขาวและดำที่เห็นในธงของปรัสเซีย ซึ่งถูกยุบไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ธงเดียวกันนั้นยังมี นกอินทรี สีดำ ซึ่งยังคงเป็นส่วนหนึ่งของตรา สัญลักษณ์บนชุดทีมชาติเยอรมนี มาจนถึงทุกวันนี้

แม้ว่าราชอาณาจักร ปรัสเซีย จะสิ้นสุดลงเกือบสองทศวรรษต่อมา ทีมฟุตบอลยังคงเลือกใช้สีเดิมเรื่อยมา ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ชุดทีมชาติบางชุดมีสีแดง ดำ และเหลืองที่เห็นบนธงชาติของประเทศ อย่างไรก็ตาม สีขาว เป็นสีที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของพวกเขามากที่สุด แม้ว่าในช่วงหลังๆ นี้อาจจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก

ข่าวกีฬา ไวที่สุดใน ประเทศ ไทย ข่าวฟุตบอลวันนี้
แล้วยังมี ข่าวซื้อขายนักเตะ ทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นข่าวจาก ลีคไทย หรือ ลีกยุโรป ก็รวมไว้แล้วเรียบร้อย ข่าวซื้อขายนักเตะ
ติดตาม ทีเด็ด กับ บอลคู่ใหญ่ ในแต่ละวันได้ที่นี่ วิเคราะห์บอล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *